ภาวะความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular joint Disorder)
ข้อต่อขากรรไกร หรือ Temporomandibular joint (TMJ) เป็นข้อต่อเชื่อมต่อขากรรไกรล่างกับฐานของกระโหลกศีรษะ ภาวะความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร
หรือ Temporomandibular joint Disorder (TMD) จะสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดทั้งบริเวณข้อต่อขากรรไกรและ/หรือกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องได้
สาเหตุของภาวะ TMD นั้นมักจะคลุมเครือหรือหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ยาก เนื่องจากอาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกรอาจส่งผลมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น กรรมพันธุ์ ภาวะข้อเสื่อม
การได้รับอุบัติเหตุบริเวณขากรรไกร หรือมีการกัดเค้นฟันทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว
ซึ่งจะส่งผลต่อข้อต่อขากรรไกรที่จะต้องรับแรงมากขึ้น เป็นความโชคดีที่ส่วนใหญ่แล้วคนไข้ที่มีอาการเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับ TMD มักเป็นเพียงชั่วคราว
และหายได้ด้วยการรักษาแบบประคับประคอง ปรับพฤติกรรมตนเอง หรือทำการรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด แต่กระนั้นแล้วในคนไข้บางส่วนที่มีอาการเรื้อรัง หรือการรักษาด้วยวิธีประคับประคองไม่ได้ผลก็อาจจะต้องทำการรักษาแบบผ่าตัด
แต่ปัจจุบัน ทญ. ธนพร ลักษมีพิเชษฐ์ (หมอจิ๊ก) ได้คิดค้นกรรมวิธีการรักษาแบบใหม่โดยไม่ต้องผ่าตัด ด้วยอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า V Shape Aligner ซึ่งเป็นสิทธิบัตรของคุณหมอ หนึ่งเดียวในประเทศไทย และในโลก
รักษาที่ไหน?
คลินิก บ้านรักษ์ฟัน ทั้ง 3 สาขา และคลินิกเครือข่ายทั่วประเทศกว่า 30 แห่ง ดูรายชื่อคลินิกทั้งหมด
- เจ็บหรือปวด บริเวณขากรรไกร
- เจ็บหรือปวด บริเวณข้อต่อขากรรไกรข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
- เจ็บร้าวบริเวณรอบๆ หู
- ปวดศีรษะ, ปวดไมเกรน โดยไม่ทราบสาเหตุ
- เคี้ยวอาหารลำบากหรือมีอาการเจ็บเวลาเคี้ยว
- เจ็บร้าวบริเวณใบหน้า
- มีภาวะติดขัดของข้อต่อขากรรไกร ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งอ้าปากหรือปิดปากไม่ได้ก็ได้
นอกจากนี้ยังมีอาการร่วมที่สังเกตุหรือระบุสาเหตุได้ยากอีก อาทิเช่น หูอื้อ, บ้านหมุน, นอนไม่หลับ, เดินเซ, หน้ามืด, ซึมเศร้า, พักผ่อนไม่เพียงพอ, ตื่นมาแล้วง่วง, นอนกรน, หยุดหายใจขณะหลับ, นอนกัดฟัน, ฟันสึก, ปวดสะบัก, ปวดคอบ่าไหล่, ปวดท้ายทอย, ปวดกระบอกตา, คอเอียง และไหล่เอียง เป็นต้น
หากมีอาการข้างเคียงเหล่านี้โดยหาสาเหตุไม่ได้ ควร ปรึกษาปัญหากับเรา V First Dental เพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
สาเหตุ
การเคลื่อนที่ของข้อต่อกระดูกขากรรไกรนั้นจะเป็นแบบบานพับร่วมกับการเลื่อน ส่วนที่สัมผัสกันของกระดูกจะถูกปกคลุมด้วยกระดูกอ่อน ซึ่งจะแย่งกันด้วยแผ่นหมอนรองกระดูกที่ทำหน้าที่ให้การเคลื่อนของข้อต่อขากรรไกรลื่นไหลไม่สะดุด ดังนั้นแล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดอากาเจ็บใน TMD จึงอาจเกิดได้จาก
- ตัวแผ่นหมอนรองกระดูกมีการสึกกร่อน หรือเคลื่อนตัวออกนอกตำแหน่ง
- กระดูกอ่อนของข้อต่อถูกทำลายจากภาวะข้อเสื่อม
- ข้อต่อถูกกระทบกระเทือนจากปัจจัยภายนอก
แต่จากที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนมากแล้วสาเหตุของ TMD ก็ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ หรือไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของปัจจัยเสี่ยง
- โรคที่ทำให้เกิดการเสื่อมของข้อต่อ เช่น Rheumatoid arthritis, Osteoarthritis
- การได้รับบาดเจ็บที่กระดูกขากรรไกร
- การมีภาวะกัดเค้นฟันแบบเรื้อรัง
- ภาวะโรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบางชนิดซึ่งส่งผลต่อข้อต่อขากรรไกร
- ระมัดระวังการทำนิสัยหรือพฤติกรรมที่เพิ่มแรงเค้นให้ข้อต่อขากรรไกร เช่น การเค้นฟัน กัดของแข็ง
- ทานอาหารอ่อน ตัดอาหารเป็นชิ้นเล็กเพื่อให้เคี้ยวได้ง่าย หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง
- ยืดกล้ามเนื้อ และการนวด ซึ่งแพทย์ผู้ทำการรักษาจะสอนวิธีการบริหารยืด/นวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
- ประคบร้อน/เย็น ตามที่แพทย์แนะนำ
การวินิจฉัย
ทันตแพทย์จะทำการตรวจโดยการพูดคุย ซักถามอาการ และตรวจข้อต่อขากรรไกร โดยการฟังและคลำข้อต่อขากรรไกรขณะอ้าปากและปิดปากของผู้ป่วย อีกทั้งยังตรวจการเคลื่อนที่ของข้อต่อขากรรไกรว่าอยู่ในระยะปกติหรือไม่ ร่วมกับการกดบริเวณรอบๆข้อต่อขากรรไกรเพื่อหาจุดที่มีอาการเจ็บปวด และอาจมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเช่น
- การถ่ายภาพรังสีบริเวณช่องปากและขากรรไกรเพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติอื่นๆที่อาจเป็นสาเหตุของอาการปวด
- การถ่ายภาพรังสี 3 มิติ เพื่อตรวจสภาพของกระดูกบริเวณข้อต่อขากรรไกร
- การตรวจแผ่นหมอนรองกระดูกข้อต่อขากรรไกรและเนื้อเยื่อรอบข้อต่อด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- บางครั้งการวินิจฉัยอาจมีความยุ่งยากซับซ้อน แพทย์จึงอาจใช้วิธีการส่องกล้องขนาดเล็กเข้าไปในข้อต่อเพื่อเข้าไปสำรวจภายในข้อต่อขากรรไกรโดยตรง เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่แม่นยำมากขึ้น
การรักษา
ในผู้ป่วยบางราย อาการเจ็บปวดจาก TMD อาจสามารถบรรเทาและหายเองได้ แต่ถ้าอาการไม่หาย แพทย์อาจแนะนำให้ทำการรักษาด้วยวิธีการรักษาที่หลากหลาย และอาจจะใช้มากกว่า 1 วิธีในการรักษาพร้อมกัน เช่น
- การใช้ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอย เช่น Ibuprofen
- การใช้ยาคลายกังวล (Tricyclic antidepressant) ยาในกลุ่มนี้ปกติแล้วจะใช้คลายเครียด ลดความวิตกกังวล แต่ในกรณีใช้ปริมาณน้อยๆ จะช่วยลดปวด ลดภาวะการกัดเค้นฟัน และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
- ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle relaxants) ยากลุ่มนี้จะช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของ TMD ระยะเวลาในการใช้ยาอาจใช้เพียงไม่กี่วันจนถึงหลายสัปดาห์ขึ้นกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
ซึ่งเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ V shape aligner ของ vfirstdental นั้นสามารถรักษาได้ โดย...
. . การรักษาโครงสร้างฟันด้วย V shape aligner ร่วมกับการจัดฟัน และ veneer ลดการผ่าตัด ประหยัดเงินและเวลา เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ จึงให้ผลดีกว่าการรักษาที่ปลายเหตุ
หากคุณมีอาการลักษณะนี้แต่ไม่แน่ใจ สามารถตรวจ หรือขอคำปรึกษาได้ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อช่วยให้ข้อต่อขากรรไกรเรียงตัวอย่างถูกต้อง แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เริ่มเห็นผลตั้งแต่ 3 สัปดาห์แรก