Skip to main content

การบริหารขากรรไกรจากโรค TMD

bite mouse

ทีเอ็มดี หรือ โรคข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว (Temporomandibular Disorders: TMDs) เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ทำให้มีอาการปวดบริเวณใบหน้า ศีรษะ ขมับ กกหู หน้าหู ในหู ขากรรไกร และฟัน นอกจากนี้อาจมีอาการอ้าปากไม่ขึ้น มีเสียงดังกึกกักหรือครืดคราดบริเวณหน้าหู อ้าปากแล้วปากเบ้หรือขากรรไกรค้าง  โรคข้อต่อขากรรไกร และมีอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น หูอื้อ นอนไม่หลับ บ้านหมุน เดินเซ หน้ามืด มึนศรีษะ ซึมเศร้า พักผ่อนไม่พอ ตื่นมาแล้วง่วง นอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ หากเป็นในเด็กจะมีอาการ เช่น เด็กนอนกรน นอนกัดฟัน ฟันสึก ฟันร้าว อาการเพิ่มเติมในผู้ใหญ่ ปวดคอบ่าไหล่ ปวดสะบัก ปวดท้ายทอย ปวดกระบอกตา คอเอียง ไหล่เอียง

วิธีการบริหารขากรรไกร

   มีหลายวิธีควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอาการและระยะของโรคจึงจะได้ผล ดังนั้น ควรปรึกษาทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาเพื่อแนะนำวิธีที่เหมาะสมก่อนเริ่มการบริหารควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นจัดจัดประคบบริเวณใบหน้าทั้งสองข้างนาน 15 นาทีเพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย

ท่าที่ 1 การผ่อนคลายใบหน้าขากรรไกรและลิ้น

  • ให้สังเกตว่าเวลาที่ท่านอยู่เฉยๆฟันบนและฟันล่างของท่านสัมผัสแต่การหรือไม่ถ้าแต่การแสดงว่าท่านกำลังเกร็งกล้ามเนื้อใบหน้าและขากรรไกรโดยไม่รู้ตัว
  • ฝึกผ่อนคลายริมฝีปากโดยลองพูดคำว่า “N” หรือ “M” ริมฝีปากฟันและลิ้นจะอยู่ในท่าผ่อนคลายโดยอัตโนมัติ
  • โดยปกติฟันบนและล่างจะสัมผัสแตะกันในช่วงที่เคี้ยวอาหารหรือเปล่งเสียงคำพูดบางคำเท่านั้น การที่ฟันแตะกันตลอดหรือเกร็งลิ้น ริมฝีปากใบหน้าจะทำให้มีอาการเมื่อยเกร็งบริเวณขากรรไกร

ท่าที่ 2 การบริหารเพื่อให้อ้าปากได้แนวตรง

  • ทำหน้ากระจก โดยวางปลายนิ้วชี้แตะเบาเบา ที่ข้อต่อขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง (อยู่บริเวณหน้าใบหู)
  • อ้าและหุบปากช้าๆสังเกตแนวการ เคลื่อนของขากรรไกรจากปลายคางอาจพบว่าแนวการอ้าปากเฉหรือเอียง

ท่าที่ 3 การบริหารด้วยการใช้ท่าม้วนลิ้นแตะเพดานปาก (Tongue-up-exercise)

  • ให้ปลายลิ้นแตะเบาเบาๆที่กลางเพดานปากด้านในลิ้นไม่เกร็ง
  • เริ่มอ้าปากช้าๆจนสุดโดยที่ปลายลิ้นยังคงแตะที่กลางเพดานปากอ้าปากค้างไว้ 5 วินาที
  • หุบปากช้าๆเข้าสู่ท่าพักโดยที่ฟันไม่แตะกันลิ้นและริมฝีปากผ่อนคลายพักห้าวินาที
  • ทำวันละ 4 – 6 รอบต่อวัน รอบละ 10 – 10 ครั้ง

ท่าที่ 4 การบริหารด้วยการใช้วิธียืดเหยียดกล้ามเนื้อบดเคี้ยว (Unassisted- Stretching exercise)

  • อ้าปากจนสุดเท่าที่ทำได้โดยไม่ปวดเมื่อยสูตรรู้สึกตึงตึงใบหน้าค้างไว้ 5 วินาทีแล้วกลับท่าพัก
  • จากท่าพักให้ยื่นคางมา ด้านหน้าจนสุดโดยไม่ปวดค้างไว้ 5 วินาทีแล้วกลับท่าพัก
  • จากท่าพัก ให้เยื้องคางไปข้างซ้ายจนสุดโดยไม่ปวดค้างไว้ 5 วินาทีแล้วกลับท่าพัก
  • จากท่าพักให้ยืนห่างไปข้างขวาจนสุดโดยไม่ปวดค้างไว้ 5 วินาทีแล้วกลับท่าพัก
  • ทำวันละ 4 – 6 รอบต่อวัน รอบละ 5 – 10 ครั้ง

ท่าที่ 5 การบริหารเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง (Isometric excerise)

  • อ้าปากโดยใช้กำปั้นวางใต้ปลายคางออกแรงต้านการอ้าปากเบาๆนาน 5 วินาที
  • เยื้องคางไปด้านซ้ายใช้กำปั้นซ้ายดันเบาเบาๆต้านการเยื้องคางไว้นาน 5 วินาที
  • เยื้องคางไปด้านขวาใช้กำปั้นขวาดันเบาๆต้านการเยื้องคางไว้นาน 5 วินาที
  • ใช้ นิ้วทั้ง 2 มือกดไว้ที่ฟันกรามต้านการหุบปากค้างไว้นาน 5 วินาที
  • ทำวันละ 4 – 6 รอบต่อวัน รอบละ 5 – 10 ครั้ง

ท่าที่ 6 การบริหารด้วยการใช้เครื่องช่วยให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Assisted-stretching exercise)

  • เพื่อช่วยให้อ้าปากได้กว้างขึ้นจากอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง
  • อ้าปาก แล้วใช้ไม้ไอติม สอดไว้ที่บริเวณฟันกรามหลังให้มากที่สุดเพื่อง้างปากให้อ้าได้กว้าง ค้างไว้ที่ท่านี้นาน 1 ถึง 2 นาทีแล้วเอาไม้ไอติมออก
  • บริหารในท่าม้วนลิ้นแตะเพดานปาก 6 รอบเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  • ทำวันละ 3 ครั้ง (เช้า กลางวัน เย็น)