Skip to main content

ข้อปฏิบัติตนเบื้องต้นเกี่ยวกับโรค TMD

โรค TMD สามารถแก้ไขได้เบื้องต้นด้วยการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ดังนี้

  1. ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
    - สามารถรับประทานอาหารที่ไม่ต้องออกแรงเคี้ยว เช่น อาหารอ่อน หรืออาหารปกติ ด้วยการแบ่งอาหารออกเป็นคำเล็ก ๆ ไม่รับประทานอาหารคำโต หรือเลี่ยงอาหารบางชนิดในช่วงที่มีอาการ เช่น อาหารเหนียว แข็ง กรอบ และอาหารที่ต้องกัดแทะ เช่น ปลาหมึก เนื้อ ก้านผัก ฝรั่ง มะม่วงดิบ มะเขือเปาะ ถั่ว ข้อไก่ กระดูกอ่อน หมากฝรั่ง
    - พยายามเคี้ยวอาหารโดยสลับกันเคี้ยวทั้งสองข้างเพื่อกล้ามเนื้อบดเคี้ยวทำงานสมดุลกัน
  2. ประคบอุ่นอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจนอาการทุเลา
    การประคบน้ำอุ่น โดยใช่ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นที่ค่อนข้างร้อนบิดหมาดๆหรือใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหุ้มเจลร้อน (hot/cold pack) ที่ทำให้ร้อนแล้วหรือกระเป๋า/ขวดบรรจุน้ำร้อนประคบขากรรไกรทั้งสองข้างประมาณ 20 นาที วันละ 2-4 ครั้ง แล้วตามด้วยการนวด/คลึงเบาๆ บริเวณกล้ามเนื้อดังกล่าวและถ้าอ้าปากจำกัดด้วยอาจใช้นิ้วมือช่วยยืดเพิ่มระยะอ้าปากด้วย
  3. ฝึกคลายกล้ามเนื้อกราม/ขากรรไกรในระหว่างวัน
    พยายามสังเกตตนเองว่าขณะไม่เคี้ยวอาหาร ฟันบน/ล่างแตะหรือสัมผัสกันหรือไม่ หรือสังเกตพบว่าตนเองมีการกัดหรือเน้นฟันหรือไม่ โดยปกติเมื่อขากรรไกรอยู่ในท่าพักปากสนิทฟันบนและล่างไม่ควรกระทบกัน พยายามฝึกผ่อนขากรรไกรให้อยู่ในท่าสบาย (lip together, teeth apart)
  4. หลีกเหลี่ยงคาเฟอีน
    คาเฟอีนอาจมีผลให้กล้ามเนื้อเกร็งตึง ควรลดหรืองดการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม และช็อคโกแลต หรืออาหารอื่นๆ ที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน
  5. ระวังไม่อ้าปากกว้าง เป็นเวลานานๆ
    หลีกเลี่ยงการหาว รับประทานอาหารคำโตๆ ตะโกน อ้าปากกว้าง ร้องเพลง และการทำฟันที่ต้องอ้าปากกว้างๆ เป็นเวลานานๆหากจะหาวให้เอามือค้ำไว้ใต้คางอย่าให้หาวอ้าปากกว้าง
  6. ทรงทำที่ดี
    ฝึกทรงท่าให้ศีรษะ คอ หลัง และไหล่ไม่เกร็งตัวโดยเฉพาะในขณะนั่งทำงาน หรือใช่คอมพิวเตอร์ฝึกยืดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อต้นคอ ไหล่ และหลัง
  7. สร้างเสริมการนอนหลับ
    พยายามนอนหลับให้เพียงพอเลี่ยงการนอนคว่ำหรือท่าอื่นๆที่จะทำให้ขากรรไกรและคอเกร็งตึง
  8. ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายทั่วตัว
  9. ฝึกการผ่อนคลายจิตใจ ลดความตึงเครียด การทำงานที่หักโหมจนเกินไป หาเวลาพักผ่อน